ประวัติ ของ การรับมือโดยใช้อารมณ์ (จิตวิทยา)

การรับมือ (coping) เป็นความตั้งใจพยายามแก้และบรรเทาปัญหาที่ทำให้เครียด[4]งานวิจัยได้แสดงการรับมืออย่างกว้าง ๆ 2 หมวด คือที่เพ่งอารมณ์ หรือที่เพ่งปัญหา[5][6]การรับมือที่เพ่งอารมณ์มุ่งการควบคุมอารมณ์เชิงลบต่อความเครียดเทียบกับการรับมือที่เพ่งปัญหา ซึ่งมุ่งเปลี่ยนตัวก่อความเครียดโดยตรง[5][7]นอกจากนั้นแล้ว กระบวนการรับมือยังแบ่งออกได้อีก 2 หมวด คือ การเข้าหาหรือการหลีกเลี่ยงสถานการณ์ก่อความเครียด[8][9][10]

นักวิจัยได้แสดงการมีอารมณ์รุนแรงว่า เป็นตัวสร้างปัญหาและเป็นการทำหน้าที่ผิดปกติ โดยเฉพาะของกระบวนการรู้คิด[11]นอกจากนั้นแล้ว งานวิจัยยังแสดงด้วยว่า การรับมือแบบเพ่งอารมณ์สัมพันธ์กับผลทางจิตที่ไม่ดีคือ งานทบทวนวรรณกรรมกว่า 100 งานพบความสัมพันธ์ระหว่างการรับมือแบบเพ่งอารมณ์กับผลลบ เช่น ความพอใจในชีวิตที่ไม่ดี อาการซึมเศร้าและวิตกกังวลที่มากกว่า และความไม่เสถียรทางอารมณ์ (neuroticism)[1]

แต่ว่า ก็ยังมีหลักฐานเชิงประสบการณ์ด้วยว่า การแสดงอารมณ์อาจเป็นการทำหน้าที่อย่างสมควรและเป็นการปรับตัวที่ดีงานทดลองแสดงว่า การเขียนเปิดแสดงอารมณ์มีผลดีต่อประสิทธิภาพการทำงานทางด้านการรู้คิดและผลที่ดีกว่าทางจิต เช่นปรับอารมณ์ซึมเศร้าได้[12]งานวิจัยในเรื่องการควบคุมอารมณ์ยังแสดงถึงความสำคัญของการประมวลและการแสดงอารมณ์เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี[13]งานวิจัยเรื่องการบำบัดก็แสดงถึงบทบาทสำคัญของอารมณ์ในการรับมือกับสถานการณ์ที่ยากอีกด้วยเช่น การบำบัดเพ่งอารมณ์ (Emotion-focused therapy) เป็นจิตบำบัดที่เน้นความสำคัญของการยอมรับและอดทนอารมณ์เชิงลบ และมีความสุขกับอารมณ์เชิงบวกเพื่อให้จิตปรับตัวอย่างถูกสุขภาพ[14]

นักวิจัยได้พยายามจำแนกการรับมือโดยเพ่งอารมณ์ส่วนที่เป็นการปรับตัวผิดจากส่วนที่ใช้ได้ โดยวัดค่าต่าง ๆนอกจากนั้นแล้ว งานศึกษาหลายงานพบด้วยว่า การรับมือโดยเพ่งอารมณ์บ่อยครั้งรวมกลยุทธ์ทั้งแบบเข้าหาและหลีกเลี่ยง[1][3]เหตุผลที่สองที่การรับมือโดยเพ่งอารมณ์ถือว่าเป็นการปรับตัวผิดก็เพราะว่า การวัดมีตัวแปรกวนเป็นความทุกข์ (distress) ซึ่งในที่สุดก่อให้เกิดพฤติกรรมแบบปรับตัวผิด[15]เพื่อแก้ปัญหาการวัดค่าของการรับมือโดยเพ่งอารมณ์ (emotion-focused coping) จึงมีการเสนอให้ใช้บทว่า การรับมือโดยใช้อารมณ์ (emotional approach coping) แทน[3][16]

แหล่งที่มา

WikiPedia: การรับมือโดยใช้อารมณ์ (จิตวิทยา) http://www.biomedcentral.com/1471-2474/10/107/abst... http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S01638... http://psp.sagepub.com/content/30/5/558 http://psp.sagepub.com/content/33/2/238 http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1467-... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1547-... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1755-... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2749806 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2911487 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3237825